กรณีศึกษา :"ซิโมน ไบล์ส" ภาวะทางจิตกับความกดดันของสังคมต่อนักกีฬา

mojitaro

Administrator
Staff member
1628334575106.png

หากกล่าวถึงนักกีฬาที่พลาดเหรียญทองในโอลิมปิก เกมส์ 2020 แบบช็อกโลก หนึ่งในนั้นคงเป็น ซิโมน ไบลส์ นักกีฬายิมนาสติกชาวอเมริกัน เจ้าของ 4 เหรียญทองจากการแข่งขันเมื่อปี 2016 และได้รับการยกย่องในฐานะนักยิมนาสติกที่เก่งที่สุดตลอดกาล

แต่เมื่อการแข่งขันที่กรุงโตเกียวมาถึง เธอกลับถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาเรื้อรังของวงการกีฬาในปัจจุบัน หลัง นาโอมิ โอซากะ นักเทนนิสฝีมือดีชาวญี่ปุ่น ถอนตัวจากการแข่งขันเฟรนช์ โอเพ่น และวิมเบิลดัน ด้วยปัญหาเดียวกัน

Main Stand นำสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ซิโมน ไบลส์ มาเป็นกรณีศึกษา ถึงสิ่งที่นักกีฬาคนหนึ่งต้องแบกรับคือความคาดหวังของสังคม ในวันที่พวกเขากำลังเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วย ทำไมพวกเขาถึงไม่มีโอกาสจะก้าวถอยหลัง และเอ่ยคำว่ายอมแพ้เหมือนคนทั่วไปในโลกใบนี้?

เริ่มจากโรคสมาธิสั้น

หากกล่าวว่า ซิโมน ไบลส์ คือหนึ่งในนักกีฬายิมนาสติกที่เก่งที่สุดตลอดกาลก็คงจะไม่เกินความเป็นจริงมากไปนัก เพราะหญิงสาววัย 24 ปีรายนี้ คือเจ้าของสถิติคว้าเหรียญรางวัลจากการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกมากที่สุด ด้วยจำนวน 25 เหรียญ และยังเป็นผู้ที่คว้าเหรียญทองมากที่สุด ด้วยจำนวน 19 เหรียญ

ความสำเร็จสูงสุดของ ไบลส์ ในฐานะนักยิมนาสติกย่อมหนีไม่พ้น การกวาด 4 เหรียญทองให้กับทีมชาติสหรัฐอเมริกา ในโอลิมปิก เกมส์ 2016 ที่นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในประเภท บุคคลรวมอุปกรณ์, ม้ากระโดด, ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ และประเภททีม ส่งผลให้เธอเป็นนักยิมนาสติกหญิงชาวอเมริกันคนแรก ที่คว้า 4 เหรียญทองจากการแข่งขันครั้งเดียว

แต่ในช่วงเวลาที่เธอกำลังอยู่ในจุดสูงสุดของอาชีพและได้รับคำชื่นชมจากแฟนกีฬาทั่วโลก ไบลส์ เปิดเผยถึงข่าวอันน่าตกใจในเดือนกันยายน ปี 2016 ว่าเธอกำลังป่วยเป็นโรค ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) หรือโรคสมาธิสั้น ซึ่งมีอาการรุนแรงจนต้องรับประทานยาเพื่อระงับอาการของโรคดังกล่าว


1


"การเป็นโรคสมาธิสั้น และกินยาเพื่อรักษาไม่ใช่เรื่องน่าอาย และฉันก็ไม่กลัวหากจะต้องเปิดเผยให้คนอื่นรับรู้เรื่องนี้" ไบลส์ ในวัย 19 ปี เปิดเผยถึงอาการป่วยของเธอผ่านทางทวิตเตอร์

หากพิจารณาจากคำกล่าวของ ไบลส์ เราคงพอมองเห็นได้ว่าโรคสมาธิสั้นไม่เป็นที่ต้อนรับในสังคมอเมริกันเท่าไรนัก เพราะเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งมีสูงถึง 11 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มคนอายุ 4-19 ปี ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา มักมีปัญหากับการใช้ชีวิตในโรงเรียน และการปรับตัวเข้ากับสังคม

ไบลส์ ไม่ใช่นักกีฬาทีมชาติสหรัฐอเมริกาเพียงคนเดียวที่ป่วยด้วยโรคนี้ เพราะตำนานแห่งวงการว่ายน้ำ ไมเคิล เฟลป์ส หรือ มิเชล คาร์เตอร์ นักกีฬาทุ่มน้ำหนักผู้คว้าเหรียญทองจากโอลิมปิก เกมส์ 2016 ต่างก็เคยเผชิญหน้ากับโรคสมาธิสั้นมาแล้ว

ADHD จึงไม่มีผลกับผลงานในการแข่งขันของนักกีฬา แต่ในทางกลับกัน โรคสมาธิสั้นกลับกลายเป็น "ตราบาป" ของนักกีฬาเหล่านี้ เพราะความจริงที่ ไบลส์ และนักกีฬาคนอื่นไม่เคยบอกใครคือ พวกเขาล้วนต่างเลือกเส้นทางนักกีฬาเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยจากโรคสมาธิสั้นด้วยกันทั้งสิ้น


2

"นักกีฬาที่เป็นโรคสมาธิสั้นกำลังเผชิญกับอุปสรรคครั้งใหญ่ เพราะโรคสมาธิสั้นคืออาการที่น่าสับสน ซึ่งทำให้เด็กกระสับกระส่าย และไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งต่าง ๆ" ดร.เดวิด คอแนนต์-นอร์วิลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสมาธิสั้นกล่าว

"แม้ ซิโมน ไบลส์ จะพิสูจน์ให้เห็นถึงเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ แต่นักกีฬาที่ป่วยเป็นโรคสมธิสั้นหลายคน ต่างจดจ่อกับสิ่งที่พวกเขาทำ เพื่อตามหารางวัลที่พวกเขาจะได้มา"

3

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ซิโมน ไบลส์ และ ไมเคิล เฟลป์ส จะกวาดเหรียญทองจากมหกรรมกีฬาโอลิมปิก เพราะโรคสมาธิสั้นมีส่วนช่วยให้ทั้งสองจดจ่อกับการฝึกซ้อมมากกว่าคนปกติทั่วไป และยังช่วยให้พวกเขายึดมั่นในเป้าหมายของตัวเอง

แต่ในทางกลับกัน นักกีฬาที่ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น จะเล่นกีฬาโดยจำเป็นต้องมีเป้าหมายให้พวกเขาโฟกัสเท่านั้น เพราะเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาหลุดจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ นักกีฬาในกลุ่ม ADHD จะไม่สามารถโฟกัสอะไรจากการเล่นกีฬาได้เลย

หลายคนจึงเข้าใจผิดคิดว่านักกีฬาที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น มีความขยันและตั้งใจมากกว่านักกีฬาทั่วไป ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมเหล่านั้นคืออาการป่วยของโรคสมาธิสั้น และหากปราศจากความเข้าใจจากคนรอบข้าง นักกีฬาจะกลับมาถูกทิ่มแทงด้วยอาการป่วยของตัวเองอย่างช้า ๆ

4


แหล่งข่าว
Sanook Sport
 
Top